ประเด็นท้าทาย
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer)
ที่มาของปัญหา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และ 4/3 จำนวนร้อยละ 60
มีผลการทดสอบเรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขาดความแม่นยำในเนื้อหา ทฤษฎี และนิยามต่าง ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังกราฟิก (Graphic Organizer) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนจดบันทึกและนำเสนอข้อมูลหรือความรู้ความเข้าใจออกมาเป็นรูปธรรม เป็นการฝึกให้ผู้เรียน รวบรวมข้อมูลหรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคำบรรยาย แล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิด กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในเนื้อหา และจัดองค์ความรู้ให้เกิดเป็นแผนภาพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เชิงปริมาณ
นักเรียนจำนวน ร้อยละ 70% ของม.4/1 และ 4/3 ทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม
นักเรียนจำนวน ร้อยละ 80% ของม.4/1 และ 4/3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากขึ้นไป
เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นม.4/1 และ 4/3 สามารถสรุปองค์ความรู้และมีส่วนร่วมในการอภิปรายเนื้อหาใน เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย
การจัดการเรียนรู้
Active Learning
แผนผังความคิด (Mind Mapping)
แผนผังใยแมงมุม (Web)
แผนผังความคิดแบบเปรียบเทียบเรียงลำดับ (The Ranking Ladder)